seach

แถลงข่าว rss
11 เม.ย. 2567
icon26
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกหนี้สามารถกลับมาชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอสังหาริมทรัพย์และช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว ดังนั้น กระทรวงการคลังได้ขอให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยดำเนินการ ดั
11 เม.ย. 2567
icon24
กระทรวงการคลังขอรายงานความคืบหน้าประจำสัปดาห์ของผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบตามมาตรการสินเชื่อดังกล่าวข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 8 เมษายน 2567 มีประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบได้รับอนุมัติให้ความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วจำนวน 8,806 ราย รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 426.55 ล้านบาท โดยมีจำนวนประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (4 เมษายน 2567) 1,913 ราย รวมเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 70.81 ล้านบาท
11 เม.ย. 2567
icon26
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้แถลงนโยบายเพื่อยกระดับให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเชิงรุก เพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว โดยกระทรวงการคลังได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินผ่านมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ ได้แก่ โครงการสินเชื่อธนาคารประชาชน สินเชื่อเพื่อชำระหนี้สินนอกระบบและสินเชื่อกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน รวมถึงมาตรการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับ ลูกหนี้นอกระบบที่ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ (ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566)
10 เม.ย. 2567
icon114
คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ได้เห็นชอบกรอบหลักการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (โครงการฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เช่น กลุ่มเปราะบาง เกษตรกร เป็นต้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มดังกล่าวและชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม
10 เม.ย. 2567
icon65
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก (Thailand Vision) เพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อเตรียมการรองรับการยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก (Thailand Vision)
6 เม.ย. 2567
icon30
ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะ Application : LINE รัฐบาลจะดำเนินการโครงการเติมเงิน 10000 บาท ผ่าน Digital Wallet ให้ประชาชนด้วยเงินดิจิทัลสกุลเงิน Token โดยตนขอให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
5 เม.ย. 2567
icon15
ในระหว่างวันที่ 4 – 5 เมษายน 2567 ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 11 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM) ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงินและผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว เป็นประธานร่วมของการประชุม AFMGM ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิดหลัก “อาเซียน: เสริมสร้างความเชื่อมโยงและภูมิคุ้มกัน” (ASEAN: Enhancing Connectivity and Resilience)
4 เม.ย. 2567
icon19
ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยได้แถลงนโยบายเพื่อยกระดับให้การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเชิงรุกเพื่อต่อสู้กับปัญหาดังกล่าว
2 เม.ย. 2567
icon82
ความคืบหน้าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าต่ำ (Low-Value Goods) ราคาไม่เกิน 1,500 บาท ตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคระหว่างผู้ขายในต่างประเทศซึ่งไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับผู้ขายในประเทศไทยซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรจะนำเสนอกฎหมายกำหนดให้แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ทั้งที่เป็นแพลตฟอร์มในประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศ รวมถึงบุคคลอื่นตามที่กฎหมายกำหนดมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากการขายสินค้าที่มีมูลค่าต่ำของผู้ขายในต่างประเทศให้แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย เพื่อนำส่งให้แก่กรมสรรพากรเป็นรายเดือนเช่นเดียวกันกับการขายสินค้าของผู้ขายในประเทศไทย
1 เม.ย. 2567
icon48
ในวันที่ 14 เมษายน 2567 นี้ จะเป็นวันครบรอบวันสถาปนา 149 ปี กระทรวงการคลัง ซึ่งกระทรวงการคลังถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการนำพาเศรษฐกิจของไทยให้ก้าวเดินไปในทิศทางที่เหมาะสม และสร้างความยั่งยืนทางการคลังให้แก่ประเทศชาติบ้านเมือง