thumbnail

Infographic_COVID-19 rss-icon
  • 17 พ.ค. 2565
    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPL ที่ยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จากปัญหา COVID-19 ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยพิเศษและเงินงวดผ่อนชำระต่ำเป็นระยะเวลา 24 งวด ผ่อนเริ่มต้นเดือนที่ 1-3 เพียง 1,000 บาท ดอกเบี้ย 0% ต่อปี (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด) ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้ามาตรการผ่าน Application : GHB ALL ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
  • 26 เม.ย. 2565
    นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ขนาดกลางและขนาดย่อม โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือในหลายมาตรการตามข้อสั่งการของรัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
  • 26 มี.ค. 2565
    ธ.ก.ส. ขยายระยะเวลาขอสินเชื่อสู้ภัย COVID – 19 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและป้องกันการก่อหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรรายย่อยและลูกจ้างภาคการเกษตร รายละไม่เกิน 10,000 บาท โดยไม่ต้องใช้หลักประกัน อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ส่งชำระคืน 3 ปี ปลอดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยในช่วง 6 เดือนแรก วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท และเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่เชื้อ ผู้ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ผ่าน LINE Official BAAC Family ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 65 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2565 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จากเดิมที่สิ้นสุดโครงการไปแล้ว โดยขยายเวลาไปจนถึง 30 กันยายน 2565 เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้กับเกษตรกร ลูกจ้างภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 ให้มีสภาพคล่องในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและป้องกันการก่อหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องใช้หลักประกัน (Clean Loan) อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ปลอดชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 ปี วงเงินรวมกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชน ด้วยการออกมาตรการต่าง ๆ มาสนับสนุน ซึ่ง ธ.ก.ส. เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลไปยังประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินช่วยเหลือตามโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การโอนเงินประกันรายได้พืชเศรษฐกิจหลัก การประกันภัยพืชผลและการเติมเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้เกษตรกรนำไปลงทุนประกอบอาชีพและเสริมสภาพคล่องในการใช้จ่าย ซึ่งในส่วนของสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ธ.ก.ส. ได้ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรไปแล้วกว่า 9,391 ล้านบาท นายธนารัตน์ กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 และเว้นระยะห่างทางสังคมตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข ผู้ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ขอสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ผ่าน LINE Official BAAC Family และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศหรือ Call Center 02 555 5555 ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565
  • 18 มี.ค. 2565
    นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์และอัตรา ค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ให้สถานพยาบาลของทางราชการถือปฏิบัติ แต่เนื่องจากปัจจุบันในพื้นที่เขตเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีปริมาณผู้ติดเชื้อโควิด 19 เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอาการเล็กน้อย (สีเขียว) ซึ่งการให้บริการทางการแพทย์ประเภท Home Isolation, Community Isolation และ Self Isolation รวมถึงสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล (คลินิก) จะเป็นผู้ให้บริการกับผู้ป่วยทุกสิทธิ ซึ่งรวมถึงผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวด้วย ดังนั้น เพื่อให้การบริการ ทางการแพทย์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง กรมบัญชีกลางจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีคลินิก ให้บริการผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด 19 โดยกำหนดให้คลินิกที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านเภสัชกรรมและสถานบริการที่ร่วมจัดบริการสาธารณสุข กรณีติดเชื้อโควิด 19 มีสถานะเป็นสถานพยาบาลของทางราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 โดยสามารถให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว และเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ “การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือ คลินิก ให้ใช้หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 มาใช้บังคับกับการเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 203 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2565 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6854 4441 ในวัน เวลาราชการ” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว
  • 17 มี.ค. 2565
    นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19) กรณีติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉิน (UCEP Plus) ตามเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
  • 14 มี.ค. 2565
    นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับแนวทางการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 กลุ่มอาการเล็กน้อย (สีเขียว) และไม่มีภาวะเสี่ยง โดยให้บริการในลักษณะผู้ป่วยนอกและให้ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Self Isolation)
  • 8 มี.ค. 2565
    นางสาวกุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันการบริหารจัดการของทรัพยากรที่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 มีความพร้อมมากขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ส่งผลให้ต้นทุนต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาลปรับราคาลดลง กรมบัญชีกลางจึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางราชการ กรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเสี่ยงหรือติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 เพื่อให้สอดคล้องกับบริการและต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง อีกทั้งช่วยลดงบประมาณร่ายจ่ายที่ไม่จำเป็น แต่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยตามเดิม โดยมีการปรับปรุงรายละเอียด
  • 14 ม.ค. 2565
    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยภายหลังเปิดให้ลูกค้าเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการใช้มาตรการความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 หากความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ยังไม่เป็นปกติ และ จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วม “มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน” ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2564 ล่าสุด ณ วันที่ 11 มกราคม 2565 มีลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์แล้วจำนวน 50,592 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 53,280 ล้านบาท โดย ธอส. ยังคงเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการที่ 18 [M18] สำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีสถานะบัญชีปกติ และมาตรการที่ 19 [M19] สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการสินเชื่อแฟลต ถึงวันที่ 25 มกราคม 2565 ขณะที่มาตรการที่ 17[M17] สำหรับลูกค้ารายย่อยสถานะ NPL และลูกค้า NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ สามารถลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 นี้ ผ่านทาง Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line หรือ www.ghbank.co.th หรือ สาขาทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร 0-2645-9000 หรือ www.ghbank.co.th, Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ Application : GHB ALL
  • 15 ต.ค. 2564
    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกาศให้ลูกค้าเดิมที่อยู่ในมาตรการและยังคงได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เพื่อขอขยายระยะเวลาความช่วยเหลือผ่าน 8 มาตรการตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ” ครอบคลุมทั้งการแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย) พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line ภายใน 29 ตุลาคม 2564
  • 20 ก.ย. 2564
    นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ ที่อัตราดอกเบี้ยสูง ธนาคารจึงได้เปิดให้กู้ สินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์ เพื่อเสริมภาพคล่อง หรือนำไปไถ่ถอนจำนองสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคจากสถาบันการเงินอื่น ซึ่งผ่อนปรนให้ใช้หลักทรัพย์หลายประเภทมาค้ำประกันเงินกู้ ภายใต้แคมเปญ “กู้ปีนี้ ผ่อนปีหน้า” โดย 6 เดือนแรก ไม่ต้องชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อให้คลายกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในช่วงที่ยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 เมื่อกู้กับธนาคารออมสิน